Search Results for: 2019/06

เรียนรู้นิทานธรรมผ่านศิลปะบนตาลปัตร

เรื่องโดย โสมนัส สุจริตกุล

เมื่อพูดถึงธรรมะ คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ยิ่งการสอนธรรมะให้เด็กด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะง่วงหงาวหาวนอนจึงมีมากกว่าจะเข้าใจแก่นธรรมะ ทว่า หากธรรมะถูกนำมาบอกเล่าผ่านนิทานสนุกๆ พร้อมภาพวาดสวยงาม การฟังธรรมะก็คงไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เมื่อ 20 ปี ก่อน พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ ช่วยครูบาอาจารย์ที่วัดจัดโกดัง พบตาลปัตรเก่ามากมายที่ต้องนำออกมาเผาทิ้ง ก็คิดหาทางว่าจะนำมาใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง “ตอนหลังมีโอกาสไปสวนโมกข์ เห็นอาจารย์พุทธทาส ท่านเอาตาลปัตรมาเขียนว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม

ความสุขของอาจารย์สอนภาษาไทยยุคสังคมดิจิทัล

เรื่องโดย เพ็ญนภา หงษ์ทอง

หากถามคนเป็นครูว่าความสุขในชีวิตของการเป็นครูอยู่ที่ไหน คำตอบของคนส่วนใหญ่น่าจะออกมาในทางเดียวกัน คือการได้เห็นลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ความสุขของ ครูเมย์ หรือ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีมากกว่านั้น  “ความสุขของเราคือการที่ได้มอบประสบการณ์ในห้องเรียนที่ดี ที่น่าจดจำให้เด็ก บางคนเมื่อเวลาผ่านไปเขาอาจจะจำเรื่องที่เรียนไม่ได้ แต่เขายังจำเรื่องราวในห้องเรียนและจำวันที่เขาเรียนเรื่องนั้นได้ จำได้ว่าเขาทำอะไร ถามอะไร คิดอะไร และรู้สึกอย่างไร

จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด

เรื่องโดย เพ็ญนภา หงษ์ทอง

“จุดสำคัญคือความรู้สึก มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะคุ้นเคยกับการทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ต้องย้ำว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนที่เราไปทำเรื่องของคนอื่น มองดีๆ มันเป็นเพราะโอกาสที่เราได้มี โอกาสที่เราเกิดคิดเรื่องนี้ขึ้นมา ถ้าไม่มีโอกาสนั้นเราก็ทำแต่เรื่องของตัวเราเอง  โอกาสจะมากขึ้นด้วยความรู้สึก ฉะนั้นในห้องเรียนจะทำยังไงให้ความรู้สึกเหล่านั้นปรากฏ มันมีหน้าที่เหล่านั้นอยู่ในห้องเรียน มันได้ทำให้ความรู้ถูกใช้ไปในลักษณะที่มันแตกต่าง ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ถึงคิดแต่ตัวเลขไม่ค่อยได้สนใจเรื่องอื่น ต้องตอบว่าเพราะเราใส่ความรู้สึกไปไม่มากพอในเนื้อหา ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญและเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” ข้อความข้างต้นคือ “ความรู้สึก” ของเดชรัต สุขกำเนิด

เยียวยากายและใจด้วยอาชาเพื่อนรัก

เรื่องโดย วันดี สันติวุฒิเมธี และ รินศรัทธา กาญจนวตี

เมื่อเอ่ยชื่อครูอุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท คนในวงการศึกษาทางเลือกต่างเคยได้ยินชื่อเสียงของเธอกันมานานกว่าสามสิบปี เพราะเธอคือผู้ก่อตั้งอนุบาลบ้านรัก และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแนววอลดอร์ฟรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย  รวมทั้งยังได้รับรางวัลอาโชก้า ในฐานะ “นักบริหารงานเพื่อสร้างสรรค์สังคม” และได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านการศึกษามานับไม่ถ้วน ภาพความสำเร็จในชีวิตของผู้หญิงผมสั้นสีสีดอกเลาท่าทางทะมัดทแมงคนนี้ ก้าวเข้ามาในชีวิตตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีไม่นาน วงรอบชีวิตการทำงานของเธอหมุนเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกันทั่วไป เพราะเธอทำทุกอย่างด้วยหัวใจและทุ่มเทจนสุดกำลัง ทว่า ความสำเร็จที่ได้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่สามารถทำให้ชีวิตพลิกผันได้เสมอ เมื่อโชคชะตาเล่นตลกกับผู้หญิงทะมัดทแมง ทำอะไรคล่องแคล่วว่องไว ใจเดินเร็วกว่าสองเท้า ต้องกลายเป็นคนที่ถูกบังคับให้เดินช้าลงและทรมานจากอาการเจ็บปวดตั้งแต่กระดูกก้นกบ สะโพก

เพชร มโนปวิตร ความสุขของนักอนุรักษ์จากภูเขาถึงทะเล

เรื่องโดย เพ็ญนภา หงษ์ทอง

เด็กชายที่ชอบอ่านหนังสือและดูสารคดีชีวิตสัตว์โลก ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรั้วมหาวิทยาลัยหมดไปกับกิจกรรมชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ เริ่มงานแรกในชีวิตด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ข้ามฟ้าไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านนิเวศวิทยาเขตร้อน ที่มหาวิทยาลัยเจมส์คุ๊ก ประเทศออสเตรเลีย ขณะทำวิจัยเรื่องนกกินแมลงในป่าฝนเขตร้อนก็หาเวลาไปเรียนดำน้ำและท่องโลกใต้ทะเลที่เกรทแบริเออรีฟไปด้วย พอกลับมาเมืองไทยสานต่องานอนุรักษ์กับองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติหลายแห่งตั้งแต่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก

เรื่องโดย วันดี สันติวุฒิเมธี

ณ สนามกีฬาโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านจังหวัดนนทบุรี ชายหนุ่มร่างท้วมวัยสามสิบปีกำลังฝึกซ้อมวิ่งด้วยแววตามุ่งมั่น รอยยิ้มเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาส่งให้หญิงวัยหกสิบปีที่ยืนอยู่ข้างสนามด้วยความรัก หลังฝึกจบ ชายหนุ่มเดินมากอดและหอมหญิงสูงวัยผู้ทุ่มเทชีวิตทุกลมหายใจเพื่อทำให้ลูกชายที่มีภาวะออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น  วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม เป็นลูกชายคนโตของทรรศน์วรรธ์น เหล่าตระกูลงาม หรือแม่อู๊ด แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสองผู้ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อทุ่มเทเวลาดูแลลูกตั้งแต่ลูกอายุได้ 8 ปี  แม่อู๊ดเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของลูกตั้งแต่อายุ  4 ขวบ เพราะลูกไม่พูดและไม่สบตาใคร

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save