8 ช่องทางความสุข

Deep Listening : ฟังกันอย่างเมตตากรุณา

ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ทุกวันนี้ก็คือ ไม่มีใครฟังใครทุกคนล้วนแย่งกันพูด ถึงแม้จะฟังก็ฟังแบบแกนๆผ่านๆ หูซ้ายทะลุหูขวา ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะฟังใครอย่างลึกซึ้งเพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง

ทั้งๆที่ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ต่างก็ต้องการระบายความทุกข์ที่อัดอั้นเก็บกด และหวังว่าจะมีใครสักคนที่รับฟังเขาอย่างมีเมตตากรุณา โดยไม่ตำหนิติด่า และไม่ต้องยัดเยียดความคิดใดๆทั้งสิ้น

“การฟังอย่างลึกซึ้ง” เป็นทักษะที่แก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างดียิ่ง เพราะแม้คนที่มีอคติต่อกันอย่างยาวนาน (เช่นชาวอิสราเอล และปาเลสไตน์) หากทั้งสองฝ่ายมีการรับฟังอย่างจริงใจเข้าใจและไม่ประเมินใดๆ ไม่นานนักความตึงเครียด เกลียดชัง ระแวงและความกลัวจะค่อยๆเบาบางลง ในขณะที่ความเห็นใจใฝ่เตตาจะค่อยๆเข้ามาสู่จิตใจของทั้งสองฝ่าย

 

How… ?

 

ความผิดพลาดประการสำคัญของการรับฟังผู้อื่นก็คือ การจ้องจะชี้ประเด็นที่ (เราคิดเองว่า) เขาพูดผิดคิดผิด ซึ่งนั่นเพราะเราเองยังขาดความคิดที่แยบคาย ขาดความปราณีที่เพียงพอ เราจึงมักแสดงต่อผู้อื่นอย่างไม่เมตตา แถมไม่ยอมรับข้อบกร่องของตนเอง

นั่นจึงนำไปสู่การขาดความกล้าที่จะ “มองตน” เพื่อที่จะไปสู่การปรับเปลี่ยนปรับปรุงตนเอง เพราะเพียงเรารู้จักรับฟังอย่างสงบเย็นและมีเมตตา ความโกรธขึ้ง ชิงชัง หวาดกลัวก็จะถูกปลดปล่อยและช่วยให้อีกฝ่ายผ่อนคลายสงบเย็นลงได้

กระแสเรียกร้องความปรองดอง ความสมานฉันท์ที่กลายเป็นความปรารถนาอย่างยิ่งของสังคมไทยในยุคนี้ จะเกิดขึ้นมิได้เลยหากว่า หากพวกเรายังไม่รู้จักรับฟังซึ่งกันและกัน หากว่าเรายังไม่พยายามเข้าถึงมรรควิธี และการดับทุกข์และ “ทุกข์หมู่” ก็จะดำรงคงอยู่ในสังคมอย่างไม่สิ้นสุด

ขอให้พวกเรามาฟังซึ่งกันและกัน กระบวนการฟังอย่างลึกซึ้ง เป็น “มรรควิธี” ดับทุกข์ทางสังคมหรือ “ทุกข์หมู่” ที่มีความเรียบง่าย ทรงพลังและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อย แต่คนอาจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยไปหน่อย

ความจริงก่อนที่ประเทศไทยจะพูดเรื่องโครงสร้าง เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม ควรจะหาวิธีที่ทำให้คนในสังคม “ฟัง” กันก่อน มิฉะนั้นเรื่องใหญ่ๆเหล่านี้ จะกลายเป็นเรื่อง ประเภท “อาจินไตย” ที่หาข้อยุติได้ยาก ในฐานะที่เราเป็นนักปฏิบัติธรรมชาวพุทธ เราจะขอฟังความทุกข์ของเราก่อน ถ้าเกิดว่าเราสามารถเข้าใจความทุกข์ของตัวเอง เราก็จะมีความทุกข์น้อยลง… ความกรุณาก็จะบังเกิดขึ้นในตัวเรา และอยากจะเข้าใจความทุกข์ของเธอเช่นเดียวกัน เพราะฉันก็รู้ว่า ตัวเองก็มีความทุกข์ด้วย และความตั้งใจของฉันไม่ใช่จะลงโทษเธอเพราะฉันก็รู้ว่าเธอมีความทุกข์เช่นเดียวกับฉัน
– ท่าน ติช นัท ฮันห์ ผู้นำจิตวิญญาณเซนของเวียดนามระดับโลก

 

Where …?

 

มูลนิธิหมู่บ้านพลัมประเทศไทย
สถานปฏิบัติธรรมนานาชาติหมู่บ้านพลัมประเทศไทย
174,176 หมู่ 7 บ้านสระน้ำใส ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ห่างจากกรุงเทพไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตร

สอบถามข้อมูลหมู่บ้านพลัม กรุณาโทร : 085-128-8044
เวลา 8:00-11:00 น. และ 14:00-17:00 น.
ทุกวัน ยกเว้นวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์

email : ติดต่อทั่วไป, สั่งซื้อหนังสือและสื่อธรรม info@thaiplumvillage.org
email : เดินทางไปหมู่บ้านพลัม (ปากช่อง) visitus@thaiplumvillage.org

 


 

แหล่งข้อมูล

ความสัมพันธ์

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save